รายละเอียดความคุ้มครอง

เมืองไทยประกันภัย ออกประกันภัยไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อุ่นใจยิ่งขึ้น!

ด้วยการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงขึ้น บริษัทเมืองไทยประกันภัย จึงออกแบบประกันภัยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นหลักประกันทางสุขภาพให้คนไทยรู้สึกอุ่นใจ หมดกังวลแม้ต้องเข้รับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วย 2 แผนความคุ้มครองที่ออกแบบด้วยหัวใจ ให้ความคุ้มครองในยามวิกฤต เพื่อที่ทุกคนจะยิ้มได้ เมื่อภัยมา

เงื่อนไขการรับประกันภัย

เงื่อนไขการรับประกันภัย
1. ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 ปี – 80 ปี (ปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบด้วยปี พ.ศ. เกิด)
2. กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน)ก่อนการเอาประกันภัยและยังมิได้รักษาให้หายขาด
3. ระยะเวลารอคอยจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)14 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้มีผลบังคับเป็นครั้งแรก
4. จำกัดการซื้อ 1 คน ต่อ 1 กรมธรรม์ประกันภัย สำหรับทุกแผนประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
5. สำหรับอาชีพนักบิน พนักงานบนเรือหรือเครื่องบิน พนักงานท่าอากาศยาน บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลสามารถซื้อได้เฉพาะแผน 1 เท่านั้น
6. รับประกันเฉพาะคนไทย สัญชาติไทยเท่านั้น และพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย
7. การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า เป็นการเจ็บป่วยรุนแรงที่แพทย์ลงความเห็นว่าไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ และ/หรือ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตโดยมีสาเหตุหลักมาจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
8. ผลประโยชน์และความคุ้มครองเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
9. สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ (COVID-19)ภาวะโคม่า* หมายถึง ภาวะอาศัยเครื่องช่วยหายใจและไม่ตอบสนองอย่างน้อย 96 ชั่วโมง และสมองถูกทำลายถาวรเกิน 30 วัน  คำเตือน : ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจ
**กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ลูกค้าต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้า และสามารถจัดเตรียมเอกสารในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนี้
1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
3. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และรายการค่าใช้จ่าย หากเบิกค่ารักษาจากที่อื่นก่อนและยังมีส่วนที่ขาดอยู่ ส่งสำเนาใบเสร็จและรายการค่าใช้จ่ายที่มีการลงนามรับรองยอดเงินที่จ่ายแล้วของหน่วยงานนั้น
4. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
5. ประวัติการรักษาทั้งหมด และพลตรวจแสดงเป็น COVID-19
6. ลำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่ทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

ถาม-ตอบเกี่ยวกับประกัน

1.รับทุกอาชีพหรือไม่?
สำหรับอาชีพนักบิน พนักงานบนเครื่องบิน พนักงานท่าอากาศยาน พนักงานบนเรือ บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล สามารถซื้อได้เฉพาะแผน 1 เท่านั้น

2.มีประกัน COVID-19 อยู่แล้วกับทางบริษัทประกันภัยอื่นสามารถซื้ออีกฉบับกับทางบริษัท เมืองไทยประกันภัยได้หรือไม่?
ซื้อประกันภัยโรด COVID-19 กับบริษัทฯ ได้ แต่จำกัดการซื้อประทันภัย COVID-19 กับบริษัทเมืองไทยประกันภัย 1 คน ต่อ 1 กรมธรรม์ประกันภัย

3.กรณีเป็นโรค COVID-19 คุ้มครองเฉพาะขณะอยู่ในประเทศไทย หรือขณะอยู่ต่างประเทศด้วย?
คุ้มครองทั่วโลก

4.ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนไทยและสัญชาติไทย แต่หากผู้เอาประกันภัยอยู่ต่างประทศสามารถซื้อประกันได้หรือไม่?
ซื้อประกันภัยไม่ได้ เนื่องจากคุ้มครองเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทย และอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

5.ภาวะโคม่า ต้องเป็นลักษณะอย่างไร ?
การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า มีองค์ประกอบ 3 อย่างทั้งหมด คือ
1.อาศัยเครื่องช่วยหายใจ
2.สมองถูกทำลายถาวร
3.ไม่ตอบสนองอย่างน้อย 96 ชั่วโมง เนื่องจากการวินิจฉัยของแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีไม่ตอบสนองน้อยกว่า 96 ชั่วโมง กรมธรรมให้ความคุ้มครองเช่นกัน

6.หากไม่ได้อยู่ในภาวะโคม่า แต่เสียชีวิตจากโรค Covid19 กะทันหันสามารถเคลมได้หรือไม่?
ได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวดความคุ้มครองภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยต้องมีเอกสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ระบุการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

7.มีโรคประจำตัวอยู่แล้วทำได้หรือไม่? เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ ลมชัก ไทรอยด์ หอบหืด ภูมิแพ้?
รับประกันภัยได้

8.พิการ เช่น แขนขาด ตาบอด สามารถทำประกันได้หรือไม่?
รับประกันภัยได้

9.ภาวะแทรกซ้อนหมายถึงอะไร?
โรคหรือการเจ็บป่วยใดๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

10.หากพบว่าติดเชื้อ COVID 19 และเคลมหมวดค่ารักษาพยาบาลไปแล้วและรักษาหายแล้ว หลังจากนั้นพบว่าติดเชื้อใหม่ สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?
หากพบว่าติดเชื้อหลังจากครั้งแรกที่รักษาหายแล้วสามารถเคลม ในหมวดความคุ้มครองที่หลือได้ ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่คงเหลือ และจำนวนวันชดเชยรายได้ที่คงเหลือรวมถึงหมวดโคม่า

11.เคยเป็น Covid-19 แล้วรักษาหายขาดไปแล้วและจะมาทำประกัน Covid19 ของบริษัทฯได้หรือไม่? และมีระยะรอคอยกี่วันหรือไม่กว่าจะทำประกันได้?
สามารถทำได้ แต่ผู้เอาประกันภัยต้องหายขาดจากโรค COVID-19 รวมทั้งหายขาดจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรด COVID-19 แล้วเท่านั้น โดยมีระยะรอคอย 14 วัน

12.จะได้รับกรมธรรมภายในกี่วัน มีบัตรประกันภัยหรือไม่ ?
หากซื้อประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์ จะป็นการส่งลิงค์กรมธรรม์ประกันภัย
– บัตรเครดิต ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ความคุ้มครองใน 14 วันทำการ
– QR Code ต้องกด approve ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ความคุ้มครองใน 14 วันทำการ
– โอนเงิน ต้องกด approve ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ความคุ้มครองใน 14 วันทำการ

13.สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
แผนที่มีค่ารักษาพยาบาล จะมาสามารถนำเบี้ยส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลไปลดหย่อนได้

14.เอกสารในการเดลมภาวะโคม่ามีอะไรบ้าง?
1 แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบด้วนสมบูรณ์
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
3. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
4. ประวัติการรักษาทั้งหมด และพลตรวจแสดงเป็น COVID-19
5. สำเนาบัตรประชาชน/ หนังสือเดินทาง ทะบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
6. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ของผู้อาประกันภัย และผู้รับประโยชน์ (ถ้ามี)
7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่าทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

15.เอกสารในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมีอะไรบ้าง?
1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
3. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และรายการค่าใช้จ่าย หากเบิกค่ารักษาจากที่อื่นก่อนและยังมีส่วนที่ขาดอยู่
ส่งสำเนาใบเสร็จและรายการค่าใช้จ่ายที่มีการลงนามรับรองยอดเงินที่จ่ายแล้วของหน่วยงานนั้น
4. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
5. ประวัติการรักษาทั้งหมด และพลตรวจแสดงเป็น COVID-19
6. ลำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่ทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

16.เอกสารในการเบิกเงินชดเชยรายได้ (Admit) มีอะไรบ้าง?
1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบด้วนสมบูรณ์
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
3. สำเนาใบเสร็จรับเงิน และรายการค่าใช้จ่าย
4. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
5. ประวัติการรักษาทั้งหมด และพลตรวจแสดงเป็น COVID-19
6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารเผื่อรับค่าทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

17. ผู้รับประโยชน์เป็นใครได้บ้าง?
ตามที่ผู้เอาประกันภัยระบุ โดยไม่จำกัดความสัมพันธ์

18.ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน นับอย่างไร?
นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก (นับวันเวลาชนวันเวลา) ตัวอย่าง ความคุ้มครองเริ่มวันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ระยะเวลารอคอย คือ วันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 13/3/2563 เวลา 22.00 น. จะนับเป็น 1 วัน ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 26/3/2563 เวลา 22.00 น. เป็นระยะเวลาที่บริษัทไม่จ่ายค่าทดแทน หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรด COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 26/3/2563 เวลา 22.01 น. เป็นตันไป จึงจะริ่มจ่ายค่าทดแทนตามความคุ้มครองได้

19. ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 ภายในระยะเวลารอคอย 19 (waiting period) จะเคลมได้ไหม?
หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 ในระยะเวลารอคอยจะไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ เนื่องจากเข้าข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยนี้

20.ถ้าไม่ได้รับความคุ้มครอง COVID-19 เนื่องจากเข้าข้อยกเว้น ระยะเวลารอคอย (waiting period) สามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้หรือไม่?
หากผู้อาประกันภัยประสงค์ยกเลิกกรมธรรมสามารถบอกเลิกได้ โดยคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวน

21. กรณีการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?
บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์

22. กรณีการเสียชีวิตจากภาวะโคม่าด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?
บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์

23.กรณีภาวะโคม่าด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?
จ่ายผู้อาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์

24. ค่าทดแทนชดเชยรายได้กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลด้วยโรคด้วย COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?
จ่ายผู้อาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์

25. ค่ารักษาพยาบาลด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร ?
จ่ายผู้อาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์

26. ค่าชดเชยรายได้กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลเริ่มคุ้มครองอย่างไร ?
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยแล้ว COVID-19 และต้องรับการรักษาตัวเป็น ผู้ป่วยในของโรงพยาบาล จะนับตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาลเนื่องจาก ผลการวินิจฉัยโรค COVD-19 เช่น กรมธรรม์คุ้มครองวันที่ 12/3/2563เวลา 13.30 น. เข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในของโงพยาบาลเนื่องจากมีไข้ เจ็บคอ ไอ ในวันที่ 19-26/3/2563 ผลวินิจฉัยโรคเป็น COVID-19 ออกเมื่อวันที่ 26/3/2563 แต่ออกก่อนเวลา 13.30 น. จะไม่คุ้มครอง เนื่องจากยังอยู่ในระยะเวลารอคอย 14 วัน
แต่ถ้าผลตรวจวินิจฉัยของแพทย์ออกวันที่ 26/3/2563 เวลา 13.31 น. (ผ่านระยะเวลารอคอย 14 นับจากวันที่กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับครั้งแรก) เป็นตันไป ถ้าแพทย์ให้นอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลถึงวันที่ 30/3/2563 และให้กลับบ้านได้ในวันที่ 31/3/2563 บริษัทจ่ายค่าชุดเชย 5 วัน โดยจะนับวันที 26/3/2563 เป็นวันแรก และไม่นับวันสุดท้ายที่ออกจากโรงพยาบาล

27.ค่ารักษาพยาบาลโรค COVID-19 รวมค่ารักษาโรคหรือ ภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจาก COVID-19 หรือไม่?
บริษัทจ่ายค่ารักษารวมค่ารักษาของโรคหรือกาวะแทรกซ้อนด้วย โดยที่แพทย์ให้ความเห็นว่าโรคอื่นหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือไตวาย เป็นต้น

28. ค่ารักษาพยาบาลโรด COVID-19 รวมค่ารักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรงอื่นด้วยหรือไม่?
ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรง หรือโรคอื่นๆ และโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย

29.แพทย์วินิจฉัยโรคเป็นอย่างอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดปวม เป็นต้น แต่มีผลตรวจเชื้อโคโรนาไวรัส (2019) เป็น Detectable (positive) คุ้มครองหรือไม่?
บริษัทจะพิจารณาเอกสารทางการแพทย์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น การวินิจฉัยของแพทย์ ประวัติการรักษา รายการยาที่ใช้ในการรักษา พลตรวจเชื้อโคโรน่ไวรัส (2019) เป็น Detectable (positive)

30. ระยะเวลาชดใช้ ค่าทดแทน กี่วัน?
จ่ายค่าสินไหมภายใน 10 วันทำการหลังจากได้รับเอกสารและข้อมูลครบถ้วน

31.หากพบว่าติดเชื้อ COVID 19 และเคลมหมวด เจอ จ่าย จริง ไปแล้วและรักษาหายแล้ว หลังจากนั้นพบว่าติดเชื้อใหม่ สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?
หากพบว่าติดเชื้อหลังจากครั้งแรกที่รักษาหายแล้ว สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้